วันเสาร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2556

การทำน้ำแข็งใส



โครงงานอาชีพ
เรื่อง น้ำแข็งใสสายรุ้ง

จัดทำโดย
                         นายอรุษ                        อินทร์ใจเอื้อ                          เลขที่ 5
                             นายวัชรพล               เชื้อหงษ์                                      เลขที่    8
                            นายณัฐพล                              สิมมี                             เลขที่ 32
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/3
เสนอ
คุณครูจักรภัทร   กุดทองดี
โรงเรียนสุวรรณภูมิพิทยไพศาล
อำเภอสุวรรณภูมิ            จังหวัดร้อยเอ็ด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27


หัวข้อโครงงาน           โครงงานน้ำแข็งใส       
                                                                  ผู้จัดทำ                                                นายอรุษ                                          อินทร์ใจเอื้อ                 เลขที่5
                นายวัชรพล                                     เชื้อหงษ์                 เลขที่ 8
                  นายณัฐพล                                                  สิมมี                               เลขที่ 32


ชื่อครูที่ปรึกษาโครงงาน      นายจักรภัทร     กุดทองดี
โรงเรียน                              สุวรรณภูมิพิทยไพศาล
ปีการศึกษา                          ๒๕๕๕









บทคัดย่อ
            โครงงานการงานอาชีพเรื่อง น้ำแข็งใสสายรุ้ง มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาเรื่องเกี่ยวกับ การประกอบอาชีพที่สุจริต และ หารายได้เสริมระหว่างเรียน  เพื่อที่จะสามารถนำมาใช้กับชีวิตประจำวันและสอดคล้องกับแนวพระราดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  โดยคณะผู้จัดทำได้ออกศึกษาค้นคว้าจากอินเทอร์เน็ต  และศึกษาสัมภาษณ์จากชาวบ้าน  จากชาวบ้านชุมชนใกล้เคียงที่ที่เคยขายน้ำแข็งไสสายรุ้ง  คณะผู้จัดทำได้ความรู้เรื่องการทำน้ำแข็งใส ก็มีแนวความคิดจัดทำขึ้นเป็นโครงงาน  เพื่อให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  ๖/๓  มีความรู้เรื่องการประกอบอาชีพการขายน้ำแข็งใสต่าง ๆ  และเมื่อได้ความรู้แล้วก็สามารถที่จะนำไปประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวันได้  เมื่อนำไปประยุกต์ใช้ก็ทำให้เกิด ความพอเพียง พอมี พอกิน

Abstract

            Project a professional. Rainbow ice. The aim is to learn about. The profession of faith and raise money for the school. So that it can be used on a daily basis and in accordance with the word of God's majesty. The study was not done out of the Internet. And education of the household interview. Of community residents nearby to sell ice rainbow style. The do not know how to make ice. I have prepared a conceptual framework. For students 6/3 is known about occupational ice on the different input and knowledge can then be applied to everyday life. When applied, it causes just enough to have enough to eat.
           


                                        
                                         กิตติกรรมประกาศ
            การศึกษาโครงงานเรื่องนี้สำเร็จ  ได้ด้วยความช่วยเหลือให้คำปรึกษาจาก  คุณครูจักรภัทร    กุดทองดี  ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ  ที่ได้ให้ความกรุณาชี้แนะแนวทางและการตรวจสอบการแก้ไขข้อบกพร่องของโครงงานจนสำเร็จด้วยดี  คณะผู้ศึกษาจึงขอกราบพระคุณท่านเป็นอย่างยิ่ง
            ขอขอบพระคุณผู้ผู้อำนวยการโรงเรียน  คณะครูโรงเรียนสุวรรณภูมิพิทยไพศาล  ที่อนุเคราะห์และอำนวยความสะดวกแหล่งค้นคว้าข้อมูล
            ขอขอบพระคุณเพื่อนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  ๖/๓  ที่ให้กำลังใจด้วยดีเสมอมา
            ขอขอบพระคุณคุณพ่อ  คุณแม่และญาติทุกคนของคณะผู้ศึกษา  ที่คอยเป็นกำลังใจอันสำคัญยิ่งให้แก่คณะผู้ศึกษาค้นคว้าจนประสบผลสำเร็จ
            คุณค่าและประโยชน์ของการศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้  คณะผู้ศึกษาค้นคว้าขอมอบเป็นเครื่องบูชาพระคุณบิดา  มารดาบูรพาจารย์  และผู้มีพระคุณทุกท่าน


คณะผู้จัดทำ





สารบัญ
เรื่อง                                                                                                                                                       หน้า
บทคัดย่อ                                                                                                                                                     1
Abstract                                                                                                                                                                                                1            
กิตติกรรมประกาศ                                                                                                                                                              2
บทที่  1   บทนำ                                                                                                                                                                    3
                ที่มาและความสำคัญ                                                                                                                                           3                                                                                               
                วัตถุประสงค์                                                                                                                                                        4
                สมมุติฐานของการค้นคว้า                                                                                                                 4
                ความมุ่งหมายของการศึกษา                                                                                                                             4
                ความสำคัญของการศึกษา                                                                                                                                  4
                ขอบเขตของการศึกษา                                                                                                                                        5
                นิยามเฉพาะ                                                                                                                                                         5
บทที่ เอกสารที่เกี่ยวข้อง                                                                                                                                               6              เอกสารที่เกี่ยวข้อง                                                                                                                                                6              ลูกจาก                                                                                                                                                                    9              เฉาก๊วย                                                                                                                                                                  13
บทที่ 3 วิธีดำเนินงาน                                                                                                                                                      17

เรื่อง                                                                                                                                                                     หน้า
วิธีดำเนินงาน                                                                                                                                       17
วิธีทำน้ำแข็งใส                                                                                                                                    18
เครื่องน้ำแข็งใส                                                                                                                                   18
บทที่  4  ผลการศึกษาค้นคว้า                                                                                                                            19
                ผลการศึกษาค้นคว้า                                                                                                                            19
บทที่ 5  สรุป อภิปรายผล ประโยชน์ที่ได้รับ และข้อเสนอแนะ                                                               20
                สรุป                                                                                                                                                        20
                อภิปรายผล                                                                                                                                           21
                ประโยชน์ที่ได้รับ                                                                                                                                22
                ข้อเสนอแนะ                                                                                                                                        22
บรรณานุกรม                                                                                                                                                       23





บทที่ 
บทนำ

ที่มาและความสำคัญ
            เนื่องด้วยคณะผู้ศึกษาไม่มีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับการทำน้ำแข็ง และการใส่อุปกรณ์ต่าง ๆ  มีแนวความคิดจัดทำโครงงานการงานอาชีพ  เรื่อง  น้ำแข็งใสสายรุ้ง  อยากมีความรู้เรื่องอุปกรณ์ต่างที่จะนำมาเป็นของที่ใช้สำหรับใส่น้ำแข็งใส  เพื่อประยุกต์ใช้กับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  เพื่อที่จะได้ออก  สัมภาษณ์  ลงมือปฏิบัติจริง  และได้ศึกษาค้นค้าหาความรู้เรื่องน้ำแข็งใส  ด้วยตนเอง  และนำความรู้ที่ได้ไปเผยแพร่ให้ความรู้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  ๖/๓  และรุ่นน้องที่โรงเรียน  เช่น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 2/1   และ แม่ค้า และมีความเชี่ยวชาญเรื่องน้ำแข็งใส มาก ๆ  และมีโอกาสได้ลงมือปฏิบัติจริงและสามารถสอบเรื่องน้ำแข็งใส  ได้ผลสัมฤทธิ์ ในระดับดี ในภาคเรียนต่อ  ๆมา

            วิชาการงานอาชีพทุกคนต้องมีความรู้ความเชี่ยวชาญ เกี่ยวกับเกษตรต่าง ๆ  การศึกษาโครงงาน  เรื่อง  น้ำแข็งใสสายรุ้ง  จึงเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาค้นคว้าต้องการรู้จักเรื่องน้ำแข็งใส
เช่น ลูกจาก  เฉาก๊วย เป็นต้น  ได้ความรู้จากการศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้มาก

           



วัตถุประสงค์
๑.     เพื่อศึกษา สัมภาษณ์  เรื่องน้ำแข็งใส  จากแม่ค้าที่ขายน้ำแข็งใส  และจาอินเทอร์เน็ต
๒.    เพื่อให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  ๖/๓  มีความรู้เรื่องน้ำแข็งใส
๓.    เพื่อที่จะได้ลงมือปฏิบัติจริง

สมมุติฐานการศึกษาค้นคว้า
            คณะผู้จัดทำไม่รู้เรื่องน้ำแข็งใส        และอุปกรณ์  มากพอ และไม่มีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับการลงมือปฏิบัติจริง

ความมุ่งหมายของการศึกษา
            เพื่อรวบรวมข้อมูล  เรื่องน้ำแข็งใส การกินน้ำแข็งใสของเด็กและเยาวชน จัดทำขึ้นเป็นโครงงานการงานอาชีพ

ความสำคัญของการศึกษา
            ทำให้ทราบเรื่อง  น้ำแข็งใส และอุปกรณ์ต่างๆมากมาย  รู้เรื่องต่างมากมาย



ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า
            การศึกษาครั้งนี้ได้ศึกษาจากอินเทอร์เน็ต  และสัมภาษณ์แม่ค้าที่เคยขายน้ำแข็งใสก่อนมาก  เช่น  การเอาใจลูกค้า การเรียกลูกค้า

นิยามศัพท์เฉพาะ
      
            ศึกษา  หมายถึง  การเล่าเรียน ฝึกฝน , และอบรม
            ค้นคว้า  หมายถึง  ข้อมูลอย่างถี่ถ้วนตามหลักวิชา เสาะหาเอามา









บทที่ 
เอกสารที่เกี่ยวข้อง

เอกสารที่เกี่ยวข้อง
            การศึกษาครั้งนี้  คณะผู้ศึกษาค้นคว้าเอกสารที่เกี่ยวของเพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาโครงงาน  ดังหัวข้อต่อไปนี้

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

อินเทอร์เน็ต  WWW.GOOGLE. COM   ได้แก่  ได้รู้จักวิธีการทำน้ำแข็งใสต่าง    คือ  ลูกจาก เฉาก็วย

หนังสือกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี  ชัน ม.๖   ได้แก่  ความรู้เพิ่มเติม  เรื่อง น้ำแข็งใสสายรุ้งและอื่นอีมากมาย

ตัวอย่างแบบ โครงงานภาษาไทย  ได้แก่  บทคัดย่อ  กิตติกรรมประกาศ  ที่มาและความสำคัญ  วิธีดำเนินงาน


ลูกจาก





จาก (อังกฤษ: Nypa) เป็นพืชจำพวกปาล์มที่มีชื่อสามัญว่า Nipa Palm โดยมีการจัดอยู่ที่ในวงศ์ย่อย Nypoideae ซึ่งมีสกุลเดียว (Nypa) และเป็นปาล์มเพียงชนิดเดียวที่เป็นพืชในป่าชายเลน และมีลำต้นอยู่ใต้ดิน นับเป็นพืชเก่าแก่มากชนิดหนึ่ง ที่มีซากดึกดำบรรพ์อายุถึง 70 ล้านปี จากพบได้ทั่วไปในเอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งในบริเวณน้ำจืด และน้ำกร่อย ที่มีน้ำเค็มขึ้นถึง มักจะขึ้นเป็นดงขนาดใหญ่ เรียกว่า ป่าจาก หรือดงจาก จากสามารถเติบโตได้ดีในดินโคลน ตามป่าชายเลน หรือบริเวณริมคลองที่มีไม้ให้ร่มเงาปะปนอยู่ด้วย มักอยู่ในช่วงที่มีน้ำจืดและน้ำกร่อยปนกัน แต่บนบกที่น้ำท่วมถึงก็พบจากได้บ้างเช่นกัน หากดินไม่แห้งแล้งนานจนเกินไป









ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

โหม่งจากหรือทลายของผลจาก
จากเป็นพืชที่มีลำต้นอยู่ใต้ดิน ต้นตั้งตรง ใบแทงขึ้นจากกอ ช่อดอกแทงเป็นงวงออกมาจากกาบใย ส่วนที่เราเห็นของจาก คือส่วนใบและช่อดอกเท่านั้น ที่โคนใบมีกะเปาะอากาศ ช่วยพยุงให้ใบชูขึ้นเหมือนชูชีพ ส่วนกาบใบนี้บางครั้งเรียก "พอนใบ" ส่วนช่อดอกที่แทงออกมาเรียก "นกจาก"  ใบที่โผล่ขึ้นมานั้น อาจชูขึ้นไปสูงได้ถึง 9 เมตร โดยไม่มีส่วนของลำต้นให้เห็นเลย ดอกของปาล์มเป็นลักษณะช่อ สีเหลืองแสด กลม ดอกตัวเมียที่ปลาย ดอกตัวผู้อยู่ตรงโคนช่อดอก ส่วนผลนั้นมีเปลือกแข็ง กระจุกเป็นทะลายหลายผล เปลือกสีน้ำตาล เรียกว่า "โหม่งจาก"  ข้างในมีเนื้อเมล็ดสีขาว มีปริมาณเนื้อไม่มากนัก รับประทานได้ รสชาติคล้ายลูกตาลสด เมื่อสุกเต็มที่ผลจะแยกจากกลุ่ม ลอยน้ำ สามารถแพร่พันธุ์ไปได้ไกลๆ บางครั้งก็แตกหน่อขณะยังลอยน้ำ









การใช้ประโยชน์
จากเป็นพืชที่คนไทยรู้จักมานาน และใช้ประโยชน์ของจากได้เป็นอย่างดี ตั้งแต่ใบจนถึงผล ใบจากมีลักษณะคล้ายใบมะพร้าว แต่มีความเหนียว และกว้างกว่า ทำให้สามารถใช้นำมาเย็บเป็นตับ เรียกว่า "ตับจาก" แล้วนำไปมุงหลังคา กันแดดกันฝนได้เป็นอย่างดี แม้ว่าจะใช้งานไปนาน ใบจากกรอบ เปลี่ยนจากสีเขียวเข้ม เป็นสีเหลือง สีน้ำตาล กระทั่งเกือบเป็นสีดำ แต่ก็ยังคงกันฝนและแดดได้ จนกว่าจะแห้งกรอบและผุไป ใช้ทำหมวกที่เรียก "เปี้ยว" พอนจากใช้ทำเชื้อเพลิง ใบจากอ่อนตากแห้งใช้มวนยาสูบ ห่อขนมต้ม ทำที่ตักน้ำเรียก "หมาจาก" ตอกบิด เสวียนหม้อ ใช้ห่อขนมจาก ซึ่งเป็นขนมที่ทำจากแป้งน้ำตาล และมะพร้าว ผสมกันจนเหลวได้ที่ แล้วนำห่อด้วยใบจาก ปิ้งบนไฟ จนมีกลิ่นหอม แม้อาจมีการใช้ใบมะพร้าวมาห่อ แต่ก็ไม่อร่อยเท่าใช้ใบจาก ใบจากใช้ต้มน้ำดื่มแก้อาการท้องร่วงได้ ในหมู่เกาะโรตีและซาวูใช้ใบจากเป็นอาหารหมูเพื่อให้เนื้อหมูมีรสหวาน
ช่อดอกนำมาทำแกงหรือกินกับน้ำพริก ก้านช่อดอกปาดเอาน้ำหวานมาทำเป็นน้ำตาลได้ เรียก "โซม" หรือนำไปหมักเป็นเหล้าและน้ำส้มสายชู กลีบดอกนั้นนำไปเป็นส่วนผสมของชาสมุนไพรได้ผลจากที่สุกแล้ว จะมีเนื้อในเมล็ดเป็นเยื่อสีขาว ใส นุ่ม มีรสหวาน นิยมรับประทานเป็นของหวาน เรียกลูกจาก ผลอ่อนที่แตกหน่อ จะมีจาวอยู่ข้างใน นำมารับประทานได้เช่นเดียวกับจาวตาล หรือจาวมะพร้าว













ลูกจาก และ ลูกชิด
เนื่องจาก จาก เป็นพืชในวงศ์เดียวกับ ตาว ซึ่งลูกของตาวนั้นเมื่อมาทำขนมเรียกว่าลูกชิด ด้วยลักษณะที่คล้ายคลึงกัน จึงมักจะมีความเข้าใจสับสน ว่า "จาก" กับ "ชิด" เป็นพืชชนิดเดียวกัน โดยเรียกต้นว่า "จาก" และเรียกลูกว่า "ชิด" ดังมี กล่าวไว้ดังนี้
ในลำคลองสองฟากล้วนจากปลูก
ทะลายลูกดอกจากขึ้นฝากแฝง
ต้นจากถูกลูกชิดนั้นติดแพง
เขาช่างแปลงชื่อถูกเรียกลูกชิด

ผลจากเจ้าลอยแก้ว
บอกความแล้วจากจำเป็น
จากช้ำน้ำตากระเด็น
เป็นทุกข์ท่าหน้านวลแตงฯ



























                                                 







































































เฉาก๊วย


เฉาก๊วย









เฉาก๊วย



เฉาก๊วยตัดเป็นก้อนสี่เหลี่ยม
เฉาก๊วย เป็นอาหารหวานชนิดหนึ่ง ซึ่งแพร่หลายในประเทศจีน จนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะที่เป็นทั้งในอาหารหวาน และเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ สำหรับในประเทศไทยนั้น ถือว่าเป็นอาหารหวานระดับพื้นบ้าน เนื่องจากมีการจำหน่ายทั่วไปในชุมชนเมืองทั่วประเทศ

 

 

 

 

 

 

 

 

กรรมวิธี


Chao kuai sold on the Sunday Walking Street market in Chiang Mai, Thailand


เฉาก๊วย เป็นผลผลิตต่อเนื่องจากการแปรรูปต้นเฉาก๊วย ซึ่งเป็นพืชในวงศ์ Lamiaceae (วงศ์มิ้นท์) วงศ์เดียวกับ สะระแหน่ กะเพรา โหระพา แมงลัก และ ยี่หร่า
วิธีทำเฉาก๊วยอย่างง่ายๆ คือ นำต้นเฉาก๊วยแห้งมาต้ม จนยางไม้และแพคตินละลายออกมาได้น้ำสีน้ำตาลดำ เรียกว่า ชาเฉาก๊วย จากนั้นก็กรองเอาแต่น้ำ แล้วนำไปผสมกับแป้งพืช เพื่อให้เฉาก๊วยคงตัวเป็นเจลลี่ ซึ่งส่วนประกอบนั้น แต่ละเจ้าจะมีสูตรของตนเอง วิธีที่เป็นต้นตำรับโบราณนั้น นิยมผสมกับแป้งท้าวยายม่อม และแป้งมันสำปะหลัง อัตราส่วนตามความเหมาะสม โดยแป้งมันจะทำให้เนื้อเฉาก๊วยนิ่ม (ใส่มากจะเหลว) ส่วนแป้งท้าวยายม่อมจะให้เนื้อเฉาก๊วยคงรูปได้นาน อาจปรับปรุงโดยใส่แป้งข้าวเจ้าเพื่อให้แข็งตัวขึ้น หรือเพิ่มแป้งข้าวเหนียวให้มีความหนุบหนับ หรือใส่ส่วนผสมอื่นๆ ก็ได้ ปัจจุบัน มีผู้ค้าบางรายใส่สีผสมอาหารให้สีดำเข้มบ้าง ใส่วุ้น-เจลาติน เพื่อประหยัดต้นทุนก็มี
การรับประทานเฉาก๊วยแต่เดิมชาวจีนจะกินกับน้ำตาลทรายแดง โดยเอามาคลุกกับน้ำตาลให้เข้ากัน คนไทยนำมาดัดแปลงโดยหั่นเป็นชิ้นๆ ใส่ในน้ำเชื่อมและน้ำแข็งกินกับข้าวโพด ลูกชิด หรือลูกตาลเชื่อมก็ได้[

สรรพคุณ

เช่นเดียวกับพืชอื่นๆในวงศ์มิ้นท์ เฉาก๊วยมีสรรพคุณแก้ร้อนในกระหายน้ำ แต่เนื่องจากมีระดับของน้ำมันหอมระเหย และสารออกฤทธิ์ ในระดับที่ต่ำกว่าตระกูลกะเพราเป็นอย่างมาก จึงส่งผลให้เฉาก๊วยไม่มีฤทธิ์ขับลม หรือบรรเทาปวด เหมือนดังที่มีในพืชตระกูลกะเพรา-โหระพา

 

อ้างอิง

1.             ^ กระป๋อง. เฉาก๊วย... ไม่เฉาเหมือนชื่อ. แม่บ้านทันสมัย. 7 (87) : 53 - 58 มีนาคม 2535
บทความเกี่ยวกับอาหาร เครื่องดื่ม และหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคอื่น ๆนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยเพิ่มข้อมูล






Ulead  Video  Studio 9
Ulead Video Studio  เป็นโปรแกรมตัดต่อวีดีโอที่มีการใช้งานไม่ยากจนเกินไป  เหมาะสำหรับผู้ที่เริ่มใช้งาน หรือผู้ที่มีประสบการณ์ตัดต่อวีดีโอมานาน  เพราะโปรแกรมนี้มีเครื่องมือต่างๆสำหรับตัดต่อวีดีโออย่างครบถ้วน 
    โปรแกรม Ulead มีการทำงานเป็นขั้นตอนที่ง่าย  เริ่มแรกจับภาพวีดีโอจากกล้องหรือว่าดึงไฟล์วีดีโอจากแผ่น VCD/DVD เข้ามา จากนั้นก็ตัดแต่งวีดีโอ  เรียงลำดับเหตุการณ์  ใส่ทรานสิชั่น (transtion - เอ็ฟเฟ็กต์ที่ใส่ระหว่างคลิปวีดีโอ ทำให้การเปลี่ยนคลิปวีดีโอจากคลิปหนึ่งไปยังอีกคลิปหนึ่งน่าดูยิ่งขึ้น)  ทำภาพซ้อนภาพ  ใส่ไตเติ้ล  ใส่คำบรรยาย  แทรกดนตรีประกอบ  ซึ่งส่วนต่างๆ เหล่านี้จะแยกแทร็คกัน  เมื่อทำเสร็จแล้วขั้นตอนสุดท้ายก็คือ การเขียนวีดีโอลงแผ่น






การติดตั้งการ์ด  
    ในที่นี้เสนอการติดตั้งเฉพาะการ์ด Firewire หรือ IEEE-1394 เป็นการ์ดสำหรับดึงภาพวีดีโอจากกล้องผ่านพอร์ต DV หรือ i-Link ของกล้อง DV หรือ Digital 8 มาบันทึกเป็นไฟล์ในเครื่อง ก่อนนำไปตัดต่อแล้วแปลง เขียนลงแผ่น CD/DVD
    ชุดของการ์ด Firewire ประกอบด้วย ตัวการ์ด สายเคเบิ้ลและCD ซอฟท์แวร์สำหรับใช้งานตัดต่อ การ์ดนี้มีราคาตั้งแต่ 500 บาท ขึ้นไป    
  
    
การ์ด Firewire หรือการ์ด IEEE-1394
     ก่อนการติดตั้งการ์ดลงในเครื่องนั้น ให้ดึงปลั๊กไฟออกจากเครื่องก่อน เปิดฝาเคสออก  และดึงแผ่นเหล็กด้านหลังออก

  
    เสียบการ์ด Firewire ลงไปพร้อมกับขั้นสกรูให้แน่น ปิดฝาเคสตามเดิม
    เสียบปลายสายเคเบิ้ลด้าน 6 pin เข้ากับการ์ดด้านหลังคอมพิวเตอร์
    ส่วนปลายสาย 4 pin เสียบเข้ากับกล้อง ในช่อง DV หรือ i-Link เท่านี้ก็พร้อมแล้วสำหรับการดึงภาพวีดีโอจากกล้องมาบันทึกเป็นไฟล์คอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในการตัดต่อ
    Ulead นั้นก็สามารถที่จะจับภาพแบบ analog ได้เช่นกัน ในกรณีนี้ คุณจะต้องหาการ์ดจับภาพเช่นการ์ดรับโทรทัศน์ที่เป็นแบบ analog มาใช้งาน การใช้งานนั้นก็เหมือนกับการ firewire นั่นแหล่ะค่ะ



Step Panel 
    ส่วนนี้เป็นส่วนของขั้นตอนต่างๆ ในการตัดต่อวีดีโอ ขั้นตอนเหล่านี้ ไม่จำเป็นต้องทำทุกขั้นตอน หรือข้ามขั้นตอนใดก็ได้ ขึ้นอยู่กับการตัดต่อวีดีโอของคุณเอง
ขั้นตอนตัดต่อคือ
1.Capture (จับภาพจากกล้อง/ดึงข้อมูลวีดีโอจากแผ่น CD/DVD)
2.Edit (แก้ไข/ตัดต่อ)
3.Effect (ใส่เอ็ฟเฟ็กต์)
4.Overlay (ทำภาพซ้อน)
5.Title (ใส่ตัวหนังสือ)
6.Audio (ใส่ดนตรีประกอบ/บันทึกเสียงบรรยาย)
7.Share (บันทึกวีดีโอที่ตัดต่อแล้ว ลงสื่อต่างๆ)
    ขั้นตอนต่างๆ ที่กล่าวมาแล้วนั้น สามารถข้ามไปยังส่วนอื่นได้ เช่น อาจจะไปใส่ดนตรีประกอบก่อน แล้วมาใส่ตัวหนังสือภายหลังก็ได้ หรือเมื่อตัดต่อเสร็จในข้อ 2 แล้วก็อาจจะไปเลือกข้อ 7 เพื่อเขียนลงแผ่นก็ได้ ไม่จำเป็นต้องทำครบทุกขั้นตอน ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าคุณจะตัดต่อวีดีโออย่างไร และต้องทำอะไรบ้างในการตัดต่อ  ขั้นตอนต่างๆ ในการตัดต่อวีดีโอ
    เมื่อเปิด project ใน Ulead แล้ว ในขั้นตอน Capture นี้ คุณสามารถที่จะบันทึกวีดีโอจากกล้องวีดีโอดิจิตอลเป็นไฟล์ลงในคอมพิวเตอร์ได้ วีดีโอที่บันทึกจากกล้องลงคอมพิวเตอร์นั้น สามารถที่จะบันทึกเป็นไฟล์เพียงไฟล์เดียว หรือให้แยกเป็นไฟล์ได้หลายๆ ไฟล์โดยอัตโนมัติ และในขั้นตอนการจับภาพนี้ นอกจากคุณจับภาพวีดีโอแล้วยังสามารถที่จะบันทึกภาพจากวีดีโอเป็นภาพนิ่งได้อีกด้วย
    ขั้นตอนการแก้ไขและ Timeline นี้ เป็นจุดสำคัญของการใช้ Ulead VideoStudio ในขั้นตอนนี้คุณสามารถที่จะเรียงลำดับคลิปวีดีโอ ที่ถ่ายมาแต่ไม่ได้เรียงลำดับเหตุการณ์กัน ก็มาเรียงลำดับเหตุการณ์ในขั้นตอนนี้ หรือแทรกคลิปวีดีโออื่นๆ เข้ามาในกระบวนการตัดต่อ เช่น หลังจากที่คุณจับภาพมาจากกล้องแล้ว เห็นว่าคลิปวีดีโอที่มีอยู่ในเครื่อง เหมาะสม น่าที่จะนำมาแทรกในบางช่วงของวีดีโอที่คุณกำลังตัดต่อ ก็สามารถทำได้ กรณีที่มีคลิปวีดีโอเพียงไฟล์เดียว เช่น จับภาพวีดีโอมาเป็นไฟล์เดียว ไม่ได้แยกไฟล์เป็นหลายๆ ส่วน ก็สามารถตัดแยก scene วีดีโอได้ เพื่อใส่เอ็ฟเฟ็กต์ระหว่าง scene ลบคลิปวีดีโอที่ไม่ต้องการออก ตัดคลิปวีดีโอบางส่วนที่ถ่ายเสียหรือไม่ต้องการออก และการใส่วีดีโอฟิลเตอร์ (เช่น การใส่ตัวฟิลเตอร์ฝนตกในคลิปวีดีโอ ทำให้คลิปวีดีโอนั้นดูเหมือนมีฝนตกจริงๆ ) ก็สามารถทำได้ในขั้นตอนนี้เช่นกัน
    ในขั้นตอนนี้ ให้คุณสามารถใส่ทรานสิชั่น (transition) ระหว่างคลิปวีดีโอใน project ซึ่งใน Ulead นี้จะมีกลุ่มของทรานสิชั่นต่างๆ ให้เลือกอย่างมากมายใน Library ทรานสิชั่น เป็นเอ็ฟเฟ็กต์ที่ใส่ไว้ในระหว่างคลิป ทำให้วีดีโอดูน่าสนใจยิ่งขึ้น เช่น ฉากที่ค่อยๆ จางหายไปจนมืด แล้วก็มีฉากถัดไปที่จางแล้วค่อยๆ ชัดเจนขึ้น หรือ ในระหว่างที่มีการเปลี่ยนฉากนั้น จะมีภาพซ้อนกันของทั้งสองฉาก เป็นต้น นี่เป็นการใส่ทรานสิชั่นนั่นเอง
    ขั้นตอนนี้เป็นการซ้อนคลิปวีดีโอบนคลิปวีดีโอที่มีอยู่ เหมือนกับที่เราดูโทรทัศน์ ที่มีการสัมภาษณ์บุคคลเกี่ยวกับดารา แล้วก็มีกรอบเล็กๆ เป็นภาพของดาราที่กำลังดูบุคคลอื่นพูดถึงตนเองอยู่
    ใส่ตัวหนังสือในวีดีโอ เช่น ชื่อเรื่องวีดีโอ แสดงชื่อบุคคล หรือตัวหนังสือปิดท้ายวีดีโอ ใครถ่ายทำ ถ่ายเมื่อไหร่ ที่ไหน เป็นต้น สามารถที่จะสร้างตัวหนังสือแบบเคลื่อนไหวได้ มีมากมากหลายแบบ เช่น ตัวหนังสือลอยจากจอภาพด้านล่างขึ้นไปด้านบน เหมือนกับตัวหนังสือเมื่อดูภาพยนตร์ตอนจบ หรือจะวิ่งจากด้านขวามือมาซ้ายมือ หรือจะเลือกชุดสำเร็จรูปจาก Library ก็ได้
    ขั้นตอนนี้สำหรับใส่ดนตรีประกอบวีดีโอ สามารถเลือกเพลงจากแผ่น CD แล้วบันทึกมาเป็นไฟล์ทำดนตรีประกอบได้ บันทึกเสียงบรรยายวีดีโอ รวมทั้งการปรับแต่งเสียงต่างๆ เช่น ลดเสียงในวีดีโอต้นฉบับในบางช่วงขณะที่บันทึกเสียงบรรยายลงไป เพื่อให้ได้ยินเสียงบรรยายชัดเจนมากยิ่งขึ้น หรือปรับระดับเสียงของดนตรีประกอบ เป็นต้น
   ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนสุดท้าย เมื่อตัดต่อวีดีโอเสร็จแล้ว ก็จะเป็นสร้างไฟล์วีดีโอสำหรับเผยแพร่ผลงาน สามารถทำได้หลายแบบ เช่น สร้างไฟล์วีดีโอสำหรับเผยแพร่ผลงานบนเว็บ เขียนวีดีโอที่ตัดต่อเสร็จแล้วกลับลงเทปอีกครั้ง เขียนลงแผ่น CD เป็น VCD หรือเขียนลง DVD

Navigation Panel
    Navigation Panel นี้เป็นส่วนสำหรับควบคุม
คลิปต่างๆ แยกหน้าที่ตามโหมดของการทำงาน 
    เมื่อจับภาพวีดีโอจากกล้องวีดีโอดิจิตอล Navigation Controls ใช้สำหรับควบคุมอุปกรณ์ ใช้ปุ่มต่างๆ เพื่อควบคุมกล้องวีดีโอดิจิตอล หรืออุปกรณ์อื่นๆ
1 Play Mode
เลือกว่าคุณจะดูวีดีโอ (preview) ทั้งโครงการหรือว่าเฉพาะคลิปที่เลือก
2 Play
ดูวีดีโอทั้งโครงการปัจจุบันหรือว่าคลิปที่เลือกไว้, หยุดชั่วขณะ หรือว่าดูวีดีโอต่อ
3 Home
กลับไปที่เฟรมแรกของวีดีโอ
4 Previous
ถอยกลับไปยังเฟรมที่แล้ว      
5 Next
ไปยังเฟรมถัดไป
6 End
ไปยังเฟรมสุดท้ายของวีดีโอ
7 Repeat
กำหนดให้เล่นซ้ำ
8 System Volume
คลิกแล้วลากตัวเลื่อนเพื่อปรับความดังของเสียงลำโพง
9 Timecode
คุณสามารถไปยังส่วนต่างๆ ของโครงการหรือคลิปที่เลือกไว้ได้อย่างง่ายดาย เพียงระบุเวลาของคลิปตรงจุดนี้
10 Mark-in/out 
ใช้ปุ่มเหล่านี้ในการกำหนดขอบเขตของการพรีวิวในโครงการ, หรือกำหนดจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดของคลิป
11 Jog Slider 
ใช้เลื่อนไปมาทั้งในโครงการหรือคลิปเพื่อดูเฟรม ณ ตำแหน่งของ Jog Slider หรือใช้สำหรับกำหนดจุดตัดคลิปออกเป็นส่วนๆ
12 Trim Handles
ใช้สำหรับกำหนดขอบเขตของการพรีวิวในโครงการ หรือกำหนดขอบเขตของคลิปที่จะเหลือไว้ใช้งาน
13 Cut Clip
ใช้สำหรับตัดคลิปที่เลือกออกเป็น 2 ส่วน เลื่อน Jog Slider ไปยังจุดที่คุณต้องการตัด จุดนี้เป็นเฟรมสุดท้ายของคลิปแรกและเป็นเฟรมแรกของคลิปที่สอง แล้วคลิกที่ปุ่มกรรไกรนี้ คลิปจะแยกออเป็น 2 ส่วน
14 Enlarge Preview Window
คลิกเพื่อขยายขนาดของหน้าต่างดูภาพ (preview) คุณสามารถดูได้เพียงอย่างเดียวเท่านั้น ไม่สามารถแก้ไขคลิปได้เมื่อหน้าต่างดูภาพขยายใหญ่
การควบคุมกล้องวีดีโอดิจิตอลด้วย Navigation Panel         เมื่อจับภาพจากกล้องวีดีโอดิจิตอล ใช้ Navigation Panel กรอเทปและหาตำแหน่งของ scene ที่ต้องการจับภาพ
1 Shuttle Control
ลาก Shuttle Control เพื่อกรอเทปไปข้างหน้าและหลังตามระดับความเร็วที่มีอยู่ เป็นการค้นหา scene ในวีดีโอที่ต้องการดูได้อย่างรวดเร็ว
2 Play
เล่นเทป/หยุดเล่นเทปชั่วขณะ
3 Stop
หยุดเล่นเทป
4 Rewind
กรอกลับเทป
5 Preview Frame                      
ถอยหลังทีละเฟรม
6 Next Frame
ไปข้างหน้าทีละเฟรม
7 Forward
กรอเทปไปข้างหน้า
8 System Volume
คลิกและลาก slider เพื่อปรับความดังเสียงของลำโพง








Project Timeline 
    Project timeline อยู่ด้านล่างของหน้าต่าง VideoStudio Editor ใช้สำหรับตัดต่อวีดีโอ ประกอบไปด้วย Storyboard, Timeline, และ Audio View. คลิกที่ปุ่มด้านซ้ายของ project timeline เพื่อสลับไปยังส่วนประกอบอื่นๆ
Storyboard View
    Storyboard View เป็นหนทางที่เร็วที่สุดและง่ายที่สุดในการเพิ่มคลิปวีดีโอหรือทรานสิชั่น  รูปภาพขนาดเล็กใน storyboard เป็นภาพเฟรมแรกของคลิปวีดีโอ และมีระยะเวลาแต่ละคลิปอยู่ด้านล่าง
    ใน Storyboard นี้ คุณสามารถแทรกหรือเรียงลำดับคลิปวีดีโอได้โดยการลากแล้ววาง  เพื่อเรียงลำดับให้ถูกต้อง  และสามารถแทรกเอ็ฟเฟ็กต์ทรานสิชั่น เข้าไประหว่างคลิปวีดีโอได้  แล้วยังกำหนดขอบเขตของวีดีโอให้มีระยะเวลาสั้นลงได้จากหน้าต่างพรีวิวเช่น  ให้เริ่มจากวินาทีที่ 20 ถึงวินาทีที่ 40  รวมทั้งยังสามารถลากคลิปวีดีโอไปวางในไลบรารี่เพื่อเก็บไว้ใช่ทีหลัง
คลิกปุ่ม   เพื่อขยายการแสดงผล storyboard ให้เต็มหน้าจอภาพ ด้วยพื้นที่ที่ใหญ่ขึ้นนี้ ทำให้คุณสามารถที่จะเรียงลำดับคลิปวีดีโอ และใส่ทรานสิชั่นระหว่างคลิปวีดีโอได้อย่างง่ายดาย นอกจากนี้แล้วยังมีจอภาพขนาดเล็กที่ด้านล่างของหน้าต่างที่ช่วยให้คุณสามารถดูคลิปวีดีโอได้
Timeline View
1 Zoom controls
อนุญาตให้คุณเปลี่ยนการเพิ่มขึ้นของ timecode ใน Timeline ruler เมื่อคุณเลื่อนตัวเลื่อน จะทำให้ระยะห่างของเวลาเปลี่ยนไป
2 Ripple Editing
Enable/Disable Ripple Editing. When enabled, allows you to select which tracks to apply it to.
3 Track buttons
คลิกปุ่มเพื่อสลับไปมายังแทร็คอื่นๆ
4 Insert media files
แสดงเมนูให้คุณเลือกเพื่อแทรกคลิปวีดีโอ, เสียงหรือภาพเข้ามาในโครงการเพื่อทำการตัดต่อ หรือหากมีคลิปวีดีโอ,เสียงหรือภาพอยู่ในไลบรารี่อยู่แล้วก็สามารถใช้ลากเข้ามาในโครงการแทนก็ได้
5 Timeline scroll control
เปิด/ปิดการเลื่อน Timeline เมื่อมีการดูคลิปที่เกินคลิปปัจจุบันที่กำลังดูอยู่ เมื่อคุณคลิกคลิปวีดีโอที่ต้องการดูภาพแล้วต้องการดูวีดีโอไปเรื่อยๆ จนจบ หากปิดตัวเลือกนี้ โปรแกรมจะแสดงภาพวีดีโอไปเรื่อยๆ แต่ไม่ได้มีการเลื่อน Timeline ดังนั้นคลิปวีดีโอเริ่มต้นที่คุณคลิกเลือกก็จะแสดงอยู่ในหน้าต่าง Timeline โดยไม่มีการเลื่อน แต่หากคุณเปิดตัวเลือกนี้ โปรแกรมจะแสดงคลิปวีดีโอใน Timeline เลื่อนไปเรื่อยๆ ตามคลิปวีดีโอที่ได้แสดงในหน้าต่างพรีวิว
6 Project scroll controls
ใช้ปุ่มซ้ายและขวา หรือลาก Scroll Bar เพื่อเลื่อนไปยังส่วนต่างๆ ของโครงการ เช่น อยู่ที่คลิปต้นๆ ของโครงการ หากต้องการไปยังส่วนกลาง หรือคลิปท้ายๆ ของโครงการ ก็ให้ลาก Scroll Bar เพื่อไปยังส่วนที่ต้องการ
7 Selected range
แถบสีนี้แทนส่วนของคลิปหรือโครงการที่ได้กำหนดขอบเขต (trim) หรือที่ถูกเลือกไว้
8 Timeline ruler
เป็นบรรทัดแสดงเวลาของโครงการ ในรูปแบบ ชั่วโมง : นาที : วินาที.เฟรม ซึ่งช่วยคุณกำหนดความยาวของคลิปและโครงการ
9 Video Track
บรรจุไปด้วยคลิปวีดีโอ ภาพ สี และทรานสิชั่น
10 Overlay Track
บรรจุคลิป overlay ซึ่งจะเป็นคลิปวีดีโอ ภาพหรือสี
11 Title Track 
บรรจุคลิปของตัวหนังสือ
12 Voice Track 
บรรจุคลิปเสียงบรรยาย
13 Music Track 
บรรจุคลิปดนตรีจากไฟล์เสียง
14 Fit Project in Timeline Window 
ขยายหรือย่อการแสดงคลิปทั้งหมดในโครงการให้พอดีกับหน้าต่าง Timeline กรณีที่คุณเคยย่อการแสดงผลไว้ หรือมีการขยายการแสดงผลคลิปต่างๆ ใน Timeline ไว้ เมื่อคลิกปุ่มนี้ จะเป็นการแสดงคลิปทั้งหมดให้พอดีกับหน้าต่าง Timeline
การสลับไปยังแทร็คอื่นๆ :
คลิกปุ่มใน Step Panel ที่มีลักษณะตรงกันกับแทร็ค เช่น ถ้าต้องการไปยังแทร็คเสียงก็คลิกปุ่ม Audio ใน Step Panel
คลิกปุ่มแทร็ค
ดับเบิ้ลคลิกแทร็คที่ต้องการ หรือคลิกคลิปบนแทร็ค
Audio View 
   
 Audio View อนุญาตให้คุณปรับระดับเสียงของคลิปวีดีโอ เสียงบรรยายและดนตรีประกอบ
    คลิปที่มีเสียงบรรจุอยู่จะถูกแสดงพร้อมกับ volume rubber band (ดูภาพประกอบ) ที่คุณสามารถคลิกและลากเพื่อปรับระดับเสียงได้ อยากให้เสียงตรงส่วนใดดังกว่าปกติ ก็คลิกบนเส้นแล้วลากขึ้นด้านบน หรือต้องการเสียงเบาลง ก็ให้คลิกเส้นแล้วลากลง
    ใน Audio View ส่วน Options Panel จะแสดง Audio Mixing Panel ที่ใช้ปรับระดับเสียงของแทร็ควีดีโอ, Overlay, เสียงบรรยาย และดนตรีประกอบ
การปรับแต่งใน Edit  และ  Overlay
1.การปรับแต่งในEdi t

                                   




              

เมื่อคลิก Color Correction จะพบเมนูในการปรับคุณภาพของวีดีโอ สามารถปรับตามใจชอบ                                                                                      
    และเมื่อคลิก Attribute  พบเมนูในการปรับ Effect ต่าง ๆ
2.การปรับแต่งใน Overlay
    Overlay สามารถปรับขนาดได้อย่างตามใจชอบ + สามารถโย้ เฟรมได้ด้วยโดยการคลิก Attribute (1) แล้วก็ลากวีดีโอที่จะซ้อน ลงมาที่ช่อง Overlay (2) อันนี้จะเอาวีดีโออะไรมาซ้อนก็ได้ และ ถ้าวีดีโอที่นำมาทำ Overlay ถ่ายทำแบบ Blue screen / Green screen และสามารถทำพื้นหลังโปร่ง ( Chroma Key) โดยที่คลิ กหมายเลข 3 และยังสามารถจะเอา Overlay ไปวางที่ไหนก็ได้ + สามารถกำหนดจุดเริ่มต้น+จุดจบได้ + ทำ Fade in / out
    เมื่อคลิก Mask&Chroma Key ก็จะได้เมนูใหม่ แล้วก็คลิก Apply  overlay options (1) + Chroma Key และเบื้องหลังเป็นสีไหนก็ เลือกสีนั้น เราก็จะได้วีดีโอซ้อนกันแบบมืออาชีพ
การจับภาพ
    เสียบสายเคเบิ้ลเข้ากับคอมพิวเตอร์และกล้องวีดีโอดิจิตอลให้เรียบร้อย แล้วเปิดกล้องในโหมด VCR เปิดโปรแกรม Ulead โปรแกรมจะเปิดหน้าต่างในขั้นตอน Edit ให้คลิกที่ปุ่ม Capture เพื่อทำการจับภาพจากกล้องวีดีโอ
หลังจากที่คลิกปุ่ม Capture แล้ว ให้คลิกที่ Capture Video
    โปรแกรมจะแสดงหน้าต่างจับภาพ ด้านซ้ายของหน้าต่างเรียกว่า Options Panel ส่วนแสดงภาพเรียกว่าหน้าต่างพรีวิว ด้านขวาเรียกว่าไลบรารี่ ส่วนด้านล่างเแสดงข้อมูลต่างๆ ของวีดีโอ
ส่วน Options Panel
Duration ตั้งระยะเวลาของการจับภาพ
Source อุปกรณ์จับภาพวีดีโอและรายชื่ออุปกรณ์จับภาพอื่นๆ ที่ติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์
Format รูปแบบไฟล์ของวีดีโอที่จะจับภาพและบันทึกในคอมพิวเตอร์
Split by scene บันทึกไฟล์วีดีโอที่จับภาพแยกไฟล์กัน แยกตามการกดปุ่มบันทึกและหยุดบันทึก หากไม่กำหนด โปรแกรมจะบันทึกไฟล์วีดีโอเป็นไฟล์เดียว (คุณลักษณะนี้ใช้ได้เฉพาะการจับภาพจากกล้องวีดีโอดิจิตอลเท่านั้น)
Capture folder โฟลเดอร์ที่เก็บไฟล์วีดีโอ
Options แสดงเมนูให้คุณได้ปรับแต่งค่าการจับภาพ
Capture Video จับภาพจากกล้องวีดีโอบันทึกลงในฮาร์ดดิสก์
Capture Image จับภาพเฟรมของวีดีโอที่แสดง เป็นภาพนิ่ง
Disable Audio Preview ปิดเสียงขณะที่ทำการจับภาพ โดยไม่มีผลการเสียงในวีดีโอที่จับ
    ในการจับภาพวีดีโอนี้ คุณอาจจะทำการตั้งเวลาในการจับภาพได้ เช่น ต้องการจับภาพเพียง 20 นาทีเท่านั้น ให้ป้อนเลขระยะเวลาของการจับภาพในช่อง Duration เมื่อถึงเวลาที่กำหนดโปรแกรมจะหยุดจับภาพเองโดยอัตโนมัติ
    ช่อง Source เมื่อคุณต่อสายเคเบิ้ลและเปิดกล้องวีดีโอ ชื่อกล้องวีดีโอก็จะปรากฏในช่องนี้ หรือหากติดตั้งการ์ดจับภาพอยู่ ก็จะปรากฏรายชื่อในชอง Source นี้เหมือนกัน
    ช่อง Format เลือกรูปแบบไฟล์วีดีโอที่คุณต้องการบันทึก หากต้องการจับภาพบันทึกเป็นไฟล์ .avi ให้เลือกรายการ DV หากต้องการบันทึกเป็นไฟล์ MPEG-1 เมื่อจับภาพเสร็จก็สามารถนำไปเขียนเป็น VCD ได้ ให้เลือก VCD
    ส่วนของ Information จะแสดงข้อมูลต่างๆ เกี่ยวับกการจับภาพ ไฟล์ที่จะบันทึกต่อไปเป็นไฟล์ชื่ออะไร ความละเอียด ชนิดอะไร ระบบไหน เป็นต้น
    ในตัวอย่างต่อไปนี้ เป็นการตั้งค่าการจับภาพเป็นแบบ DV และเลือกให้มีการแยกไฟล์ตาม scene โดยการทำเครื่องหมายถูกหน้า Split by scene การจับภาพแบบแยก scene นี้ ช่วยให้คุณสามารถที่จะจัดลำดับของคลิปวีดีโอเรียงตามเหตุการณ์ หรือลบทิ้งคลิปที่ไม่ต้องการได้อย่างสะดวกยิ่งขึ้น รวมทั้งใส่เอ็ฟเฟ็กต์ทรานสิชั่นในระหว่างคลิปได้อย่างง่ายโดยที่ไม่ต้องมาแยก scene ใหม่
    จากข้อมูลใน Information จะสังเกตุเห็นว่า DV type จะเป็น Type-1 อยู่ แต่ต้องการจะเปลี่ยนเป็น Type-2 ให้คลิก Options แล้วเลือก Capture Options เพื่อตั้งค่าตัวเลือกในการจับภาพ
    ทำเครื่องหมายถูกหน้า Capture to Library (เป็นค่าเริ่มต้นของโปรแกรม) การเลือกตัวเลือกนี้ เป็นการจับภาพแล้วให้นำภาพขนาดเล็ก (thumbnail) ของวีดีโอที่จับ เก็บไว้ในไลบรารี่ด้วย ประโยชน์ของการที่เก็บภาพไว้ในไลบรารี่ก็คือ ทำให้คุณทราบว่าได้มีการจับภาพวีดีโออะไรมาบ้าง และหากคุณต้องการนำคลิปวีดีโอนั้นมาตัดต่อ ก็เพียงแต่คลิกลากไฟล์วีดีโอที่อยู่ในไลบรารี่มาใส่ใน Timeline เท่านั้น
คลิก Options แล้วเลือก DV Type... คลิกเลือก DV type-s คลิกปุ่ม OK
หลังจากที่เลือกชนิดวีดีโอเป็น type-2 แล้วข้อมูลในส่วน Information ก็จะเปลี่ยนตาม
เมื่อตั้งค่าต่างๆ เสร็จแล้ว คลิกที่รูปกล้องหน้า Capture Video เพื่อเริ่มขั้นตอนจับภาพจากกล้องบันทึกเป็นไฟล์ลงคอมพิวเตอร์
ภาพหน้าจอขณะที่โปรแกรมกำลังจับภาพ
    ขณะที่กำลังจับภาพอยู่นั้น หากต้องการปิดเสียงวีดีโอที่กำลังจับภาพอยู่ ให้คลิกที่ Disable Audio Preview การปิดเสียงนี้ไม่มีผลต่อเสียงที่บันทึกลงไฟล์วีดีโอ เมื่อต้องการหยุดการจับภาพ ให้คลิกรูปกล้องหน้า Stop Capture
    หากมีการตั้งเวลาจับภาพ (กำหนดระยะเวลาจับภาพในช่อง Duration) เมื่อถึงระยะเวลาที่กำหนด โปรแกรมจะหยุดจับภาพโดยอัตโนมัติ
หลังจากที่หยุดจับภาพแล้ว ให้บันทึกโครงการนี้ไว้ เพื่อเปิดตัดต่อในภายหลัง โดยไม่ต้องเลือกไฟล์เพิ่มใน Timeline เพื่อตัดต่ออีก
เลือกเมนู File -> Save แล้วตั้งชื่อไฟล์โครงการ
ชื่อไฟล์โครงการที่ได้ตั้งไว้
การบันทึกโครงการนี้ หากคุณจับภาพเสร็จและปิดโปรแกรม ก็จะปรากฏกรอบโต้ตอบถามถึงการบันทึกโครงการเช่นกัน
หมายเหตุ : การจับภาพแบบ DV Type-1 หรือ DV Type-2 (จากกล้องวีดีโอดิจิตอล) หรือจับภาพแบบ MPEG (จากกล้องดิจิตอลหรือจากอุปกรณ์อนาล็อก) จะมีข้อจำกัดเรื่องขนาดไฟล์ที่ 4 GB ใน Windows 98 SE และ Me ที่ใช้ระบบไฟล์เป็น FAT 32 ขณะที่จับภาพ เมื่อขนาดไฟล์มีขนาดใหญ่กว่า 4 GB โปรแกรมจะสร้างไฟล์ใหม่ให้โดยอัตโนมัติ ส่วนใน Windows 2000 และ Windows XP ที่ใช้ระบบไฟล์เป็น NTFS ไม่มีขีดจำกัดเรื่องขนาดไฟล์ในการจับภาพ
    การจับภาพแบบแบ่งไฟล์เมื่อมีขนาดเกินนี้ จะใช้ไม่ได้กับการจับภาพแบบ VFW (Video For Windows) และโปรแกรม Ulead VideoStudio นี้จะตรวจสอบระบบไฟล์และทำการจับภาพแบบแบ่งไฟล์เมื่อมีขนาดใหญ่เกินข้อจำกัดโดยอัตโนมัติ และจะทำได้เฉพาะในไฟล์ระบบที่เป็น FAT 32 เท่านั้น
Library
    ไลบรารี่เป็นที่ที่เก็บทุกๆ อย่างที่คุณต้องการนำไปสร้างวีดีโอของคุณ ไม่ว่าจะเป็น คลิปวีดีโอ ตัวกรองวีดีโอ เสียง ภาพนิ่ง เอ็ฟเฟ็กต์ทรานสิชั่น ดนตรีประกอบ ตัวหนังสือและคลิปสี สิ่งเหล่านี้รวมๆ กันแล้วเรียกว่า มีเดียคลิป (media clip)
    ไลบรารี่จะอยู่ด้านขวามือของหน้าต่าง VideoStudio Editor การเก็บคลิปต่างๆ ไว้ในไลบรารี่ ทำให้สะดวกเมื่อต้องการนำคลิปมาใช้ในการตัดต่อวีดีโอ
การเพิ่มคลิปเข้าในไลบรารี่
เป็นการเพิ่มมีเดียคลิปต่างๆ จะต้องเลือกกลุ่มของไลบรารี่ ว่าจะเพิ่มอะไรเข้าไป  จากนั้นคลิกที่รูปโฟลเดอร์ เลือก
คลิปวีดีโอที่ต้องการเพิ่มเข้าไปในไลบรารี่ แล้วกดปุ่ม Open คลิปวีดีโอที่เลือกก็จะปรากฏอยู่ในไลบรารี่
กรณีที่ทำการตัดต่อวีดีโออยู่ใน Storyboard ก็สามารถลากคลิปที่ตัดต่อแล้ว มาวางไว้ในไลบรารี่ได้ เพื่อใช้ในโอกาสถัดไป ตราบเท่าที่ยังไม่ได้ลบไฟล์ต้นฉบับออก เช่น มีคลิปวีดีโอขนาด 90 นาที ตัดออกเป็นสองส่วน 60 นาทีกับ 30 นาที เพื่อนำไปเขียนลง CD หลังจากตัดเสร็จแล้ว ให้ลากส่วนที่ 2 เก็บไว้ในไลบรารี่ ลบส่วนที่ 2 ออก เขียนส่วนที่ 1 เสร็จแล้ว สร้างโครงการใหม่ ลากไฟล์ส่วนที่ 2 ที่เก็บไว้ในไลบรารี่มาใส่ใน Storyboard แล้วนำไปเขียนลง CD ก็จะทำให้ส่วนทั้ง 2 มีความต่อเนื่องกัน
    การคลิกขวาบนคลิปต่างๆ ในไลบรารี่ก็จะมีตัวเลือกอื่นๆ อีกหลายอย่าง เช่น การคลิกขวาบนคลิปวีดีโอ ก็จะมีเมนูให้เลือกว่าจะแทรกเข้าไปใน Video Track หรือ Overlay Track หรือการดูคุณสมบัติของคลิกนั้น ๆ เป็นต้น
การลบคลิปจากไลบรารี่
คลิกขวาบนคลิปที่ไม่ต้องการแล้วเลือก Delete หรือ คลิกบนคลิปแล้วกดปุ่ม Delete บนแป้นพิมพ์
เมื่อปรากฏตอบโต้ตอบ ให้คลิกปุ่ม OK เพื่อทำการลบออกจากไลบรารี่
การเรียงลำดับคลิป
    การเรียงลำดับคลิปในไลบรารี่ ให้คลิกเมนู Options แล้วเลือกการเรียงลำดับตามต้องการ การสลับการเรียงลำดับไปมาระหว่างจากน้อยไปหามาก หรือจากมากไปหาน้อยนั้น ให้ทำการเลือกการเรียงซ้ำ คือเมื่อเรียงลำดับจากน้อยไปหามาก เมื่อเลือกซ้ำอีกครั้งจะเป็นการเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย
    ปกติแล้วคลิปวีดีโอจะเรียงตามวันที่ขึ้นอยู่กับฟอร์แมตของไฟล์ ไฟล์ .avi ที่จับภาพมาจากกล้องวีดีโอจะเรียงตามวันที่และเวลาของการบันทึกเทป ส่วนฟอร์แมตไฟล์วีดีโออื่นๆ จะเรียงตามลำดับของวันที่ของไฟล์





บทที่ 
      วิธีดำเนินงาน
 วิธีดำเนินงาน

ลำดับ
ขั้นตอนการศึกษา
ระยะเวลาดำเนินการ
๑.
กำหนดปัญหา
๑๐  พ.ย  ๕๕
๒.
ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับ  เรื่อง  น้ำแข็งใส
๑๑  พ.ย  ๕๕
๓.
รวบรวมข้อมูลที่ได้จากการ  แม่ค้าที่มีประสบการณ์
๑๓  พ.ย  ๕๕
๔.
ศึกษาค้นคว้าจากอินเทอร์เน็ต
๑๕  พ.ย  ๕๕
๕.
รวบรวมข้อมูลที่ได้
๑๖  พ.ย   ๕๕
๖.
จัดทำรูปเล่มรายงานขึ้น  เพื่อออกเผยแพร่ให้กับนักเรียนชั้น ม.
๑๗  พ.ย  ๕๕
๗.
ออกเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าโครง
๑๙  พ.ย  ๕๕
๘.
นำความรู้ที่ได้มา  จัดทำขึ้นผังโครงงาน
๒๒  พ.ย  ๕๕
๙.
ฝึกซ้อมการนำเสนอโครงงาน  เรื่อง น้ำแข็งใสสายรุ้ง
๒๓  พ.ย  ๕๕
๑๐.
นำเสนอโครงงาน
๓๐  พ.ย  ๕๕


น้ำแข็งใสสายรุ้ง

อุปกรณ์ 

1  เครื่องใสน้ำแข็งไฟฟ้า
2  น้ำแข็ง
3  น้ำหวาน(สีแดง สีส้ม หรือตามใจชอบ)
4   ลูกจาก เฉาก๊วย และอืีนๆตามต้องการ
5  ถ้วยสำหรับใส่น้ำแข็งใส
6  ช้อนและหลอด
7  ถาดใว้รองน้ำแข้ง
8  ถ้วยสำหรับใส่เรื่องน้ำแข็งใส
9  น้ำหวาน
10 นมข้น

วิธีการทำ


1   นำน้ำแข็งไปใส่ในช่องใส่น้ำแข็งพอประมาณ และบดน้ำแข็ง
2   น้ำถ้วยหรือไปรองตรงที่นำแข็งจะออก( ถ้าใสแก้วต้องเป็นแก้วใสเท่านั้น)
3   ใส่น้ำแข็งลง 1 ใน 4 ส่วน ราดสีที่เราต้องการ
4   ใส่น้ำแข็งส่วนที่ 2 ลงไปและใส่สีอื่น ที่ไม่ซ้ำกัน
5   ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ จนเต็มแก้ว เราก็ะได้นำแข็งใสสายรุ้ง
6   หลังจากนั้นราดนมข้น และ น้ำหวานลงไป
7   แต่งหน้าด้วยท็อปปิ้งที่เราต้องการ และเราก็จะได้ น้ำแข็งใสสายรุ้งที่เราต้องการ




                                                                                                บทที่ 
       ผลการศึกษาค้นคว้า

ผลการศึกษาค้นคว้า
            ผลการศึกษาค้นคว้า  เรื่อง  น้ำแข็งใส จากการ  สัมภาษณ์ แม่ค้าที่มีประสบการณ์  และจากอินเทอร์เน็ต  ปรากฏการศึกษา  ดังต่อไปนี้

          ผลการศึกษาโครงงาน  โครงงานพบว่ามีการประยุกต์การขายน้ำแข็งใสในรูปแบบต่าง ๆหลายประเภททั้งจากอินเทอร์เน็ตและจากผู้ที่มีประสบการณ์ในการขายมาก่อน  เช่น  การนำสุมนไพรมาใสน้ำแข็งใส  เป็นต้น  เราสามารถนำประยุกต์ใช้กับเศรษฐกิจพอเพียงได้ และเป็นรายได้เสริม

ผลการศึกษาโครงงาน  โครงงานพบว่ามีการขายน้ำแข็งหลายรูปแบบทั้งจากอินเทอร์เน็ตและจากการสัมภาษณ์จากเด็กที่ชอบทานน้ำแข็งใสว่าจะต้องเติมอะไรลงไปบ้าง ชอบกินแบบไหน  เราสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับเศรษฐกิจพอเพียงได้





บทที่ 
สรุปผล  อภิปรายผล  ประโยชน์ที่ได้รับ และข้อเสนอแนะ

            การศึกษาโครงงาน  เรื่องน้ำแข็งใสสายรุ้ง สรุปผลได้
ดังนี้

สรุปผล
            จากการศึกษาและสัมภาษณ์แม่ค้าที่ขายน้ำแข็งใส และเด็กๆที่กินน้ำแข็งใสเป็นประจำ ได้ศึกษาเครื่องน้ำแข็งใสจำนวนหลายอย่าง  จำนวนหลายชนิด  ได้ศึกษาเกี่ยวกับวิธีการทำน้ำแข็งใสในรูปแบบต่าง    และอื่น    ผู้ศึกษาจึงได้นำผลการเรียนรู้ออกเผยแพร่ให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่   โรงเรียนสุวรรณภูมิพิทยไพศาล  ได้นำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวันและสามารถปฏิบัติตามแนวพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  ๖ ทดสอบกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ  ได้ผลสัมฤทธิ์ในระดับดี






อภิปรายผล 
            จากการศึกษา  เรื่อง น้ำแข็งใสสายรุ้ง  ทำให้รู้ถึง  ลักษณะการปลูกพืชผักต่าง    มีดังนี้
๑. ทำให้รู้ถึงลักษณะการปลูกลูกจาก
๒.ทำให้รู้ถึงลักษณะการปลูก เฉาก๊วย
๓.ทำให้รู้ถึงลักษณะการทำขนม
๔.ทำให้รู้ถึงลักษณะการทำทับทิมกรอบ











ประโยชน์ที่ได้รับ
๑.     รู้และเข้าใจ  เรื่อง  น้ำแข็งใส
๒.   ได้ออกเผยแพร่ให้ความรู้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่๖ และน้องที่โรงเรียนสุวรรณภูมิพิทยไพศาล
๓.    นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่    สามารถนำความรู้ที่ได้จากการจัดทำโครงงานนำไปปฏิบัติจริงที่บ้าน  และที่โรงเรียน
๔.    ได้รู้จักการทำงานร่วมกันเป็นหมู่คณะ
๕.    ได้ปฏิบัติตามแนวพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ข้อเสนอแนะ
๑.     ในโอกาสต่อไปอยากออกเผยแพร่ทั่ว 
๒.    อยากทำแผ่นพับออกเผยแพร่ให้ได้มากที่สุด
๓.    อยากนำความรู้ที่ได้มาทำเป็นกิจการขนาดใหญ่  และนำผักปลอดสารพิษออกขายในท้องตลาด






บรรณานุกรม

อินเทอร์เน็ต .WWW.GOOGLE.COM
ดร. ยุทธ     ไกยวรรณ์  และคณะ . หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐาน การงานอาชีพ  และเทคโนโลยี”. พิมพ์ครั้งที่  ๓.กรุงเทพ ๒๕๔๔

นั่นคือตัวอย่างบางส่วนที่ได้นำมาให้ชมกัน จะมีอีกหลายโครงงานที่ยังไม่ได้อัพขึ้น เดี๋ยวจะอัพให้ชมในวันถัดไป 













ภาคผนวก







ภาคผนวก





การขายน้ำแข็งใส







ประวัติผู้จัดทำ
ชื่อ  นายณัฐพล สิมมี
วันเกิด  29  มิถุนายน 2537
ที่อยู่  185 3 บ้านหนองใหญ่  ตำบลหัวช้าง อำเภอสุวรรณภูมิ  จังหวัดร้อยเอ็ด
การศึกษา  กำลังศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/3
 โรงเรียนสุวรรณภูมิพิทยไพศาล














ประวัติผู้จัดทำ
ชื่อ  นายวัชรพล  เชื้อหงษ์
วันเกิด  16  มิถุนายน 2537
ที่อยู่  78  บ้านงูเหลือม  ตำบลนาใหญ่ อำเภอสุวรรณภูมิ  จังหวัดร้อยเอ็ด
การศึกษา  กำลังศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/3
โรงเรียนสุวรรณภูมิพิทยไพศาล














ประวัติผู้จัดทำ
ชื่อ  นายอรุษ                         อินทร์ใจเอื้อ
วันเกิด  8 ธันวาคม 2537
ที่อยู่  71  ม1  ตำบลหสระคู อำเภอสุวรรณภูมิ  จังหวัดร้อยเอ็ด
การศึกษา  กำลังศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/3
โรงเรียนสุวรรณภูมิพิทยไพศาล